วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพ


โรคติดต่อ

     การเกิดโรคติดต่อจะส่งผลต่อสุขภาพของบุคคลโดยตรง แม้ว่าโรคติดต่อสามารถแพร่กระจายได้ แต่ก็
สามารถป้องกันได้เช่นเดียวกัน การเกิดโรคติดต่อมีองค์ประกอบ 3 ชนิด ได้แก่ คน สิ่งแวดล้อม และเชื้อโรค โดยเฉพาะเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคติดต่อมีหลายประเภท ซึ่งความรุนแรงของโรคก็มีความแตกต่างกันไป ดังนั้น ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การติดต่อและการป้องกันและควบคุมโรค ก็จะทำให้สามารถปฏิบัติตัวในการป้องกันมิให้เกิดเป็นโรคติดต่อได้อย่างถูกต้อง

โรคทางพันธุกรรม


โรค ทางพันธุกรรม หมายถึง โรคที่มีความผิดปกติขององค์ประกอบของจีนและโครโมโซม ซึ่งจีนและโครโมโซมนี้เป็นตัวกำหนดลักษณะทางพันธุกรรม เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นจะทำให้
เกิดการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์จากพ่อแม่สู่ ลูกโดยตรง
ชนิดของโรคทางพันธุกรรม โรคทางพันธุกรรม จำแนกได้ 3 ชนิด คือ
1. โรคทางพันธุกรรมที่เกิดความผิดปกติในการแบ่งตัวของโครโมโซม
ขณะกำลังเกิดการปฏิสนธิ หรือขณะที่ไข่และอสุจิผสมกันเป็นตัวอ่อนแล้ว
2. โรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติในการเรียงตัวของโครโมโซม
3. โรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติในการแยกคู่ของโครโมโซมในระหว่าง
การแบ่งตัว 
การส่งเสริมสุขภาพ เป็นมิติหนึ่งทางสุขภาพที่มีความสำคัญมากที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุข ในการส่งเสริมสุขภาพจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของมิติสุขภาพ เข้าใจหลักและวิธีปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
ความหมายของสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพ
                สุขภาพ หมายถึง ภาวะแห่งความสมบูรณ์และความสมดุลของบุคคลทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม รวมทั้งสภาวะที่ปราศจากโรคและความพิการ และการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมอย่างปกติสุข การมีสุขภาพดีเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีอันเป็นผลมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี รวมทั้งการมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
             ขอบเขตของสุขภาพ จากความหมายของสุขภาพดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่าคนและสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กันซึ่งนำไปสู่สภาวะสุขภาพ
             การส่งเสริมสุขภาพเป็นมิติหนึ่งของสุขภาพ หมายถึง การกระทำของบุคคลเพื่อให้มีสุขภาพดีทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม
การดูแลสุขภาพตนเองเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และสมรรถภาพทางกาย
              
 การดูแลสุขภาพตนเอง เป็นกระบวนการที่บุคคลกระทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันการเกิดโรคและการเจ็บป่วย การรักษาอาการผิดปกติและการเจ็บป่วย
การดูแลสุขภาพตนเองแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. การดูแลสุขภาพตนเองในภาวะปกติ
2. การดูแลสุขภาพตนเองเมื่อรู้สึกว่าผิดปกติ
3. การดูแลสุขภาพตนเองเมื่อเจ็บป่วยและได้รับการกำหนดว่าเป็นผู้ป่วย
ใส่ใจความปลอดภัย
ภัยในบ้าน
บ้านถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ เพราะที่อยู่อาศัยของคนเรา ปกติแล้วในบ้านน่าจะเป็นที่ปลอดภัยสำหรับคนในบ้าน แต่ก็มีบ้างบางครั้งที่จะเป็นที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุที่ไม่คาดคิดภายในบ้าน เช่น
1.การพลัดตกหกล้ม อาจเกิดขึ้นภายในบ้านและอาจทำให้บาดเจ็บ จึงควรคำนึงถึงสิ่งเหล้านี้ด้วย
1.1 ควรล้างห้องน้ำให้สะอาดเสมอไม่ให้ลื่น เพราะอาจทำให้ลื่นล้มในห้องน้ำได้ จนอาจหัวฟาดพื้นได้ จนถึงต้องเข้าโรงพยาบาล
1.2 การยกของขึ้นหรือลงบันได อย่าละสายตาจากทางเดินหรือยกของหนักจนเกินไป
1.3 ถ้าพื้นบ้านปูนหรือกระเบื้องน้ำหก จนอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย จึงควรเช็ดให้แห้งทันที
2. ภัยจากไฟฟ้า  ขณะนี้แทบจะ 100%ที่ทุกครั้งหลังใช้ไฟฟ้าใช้แล้ว จึงอาจเกิดเหตุที่อันตรายมาก เพราะเราไม่สามารถมองเห็นไฟฟ้าได้ และวิธีมีการป้องกันดังนี้
2.1 ถ้ามือเปียกหรือยืนในที่เปียก ก็ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า
2.2 ควรติดเต้าเสียบให้สูงกว่าไม่น้อยกว่าพื้นประมาณ 1.20 เมตรเพื่อไม่ให้เด็กเล็กเข้าใกล้ได้
2.3 ควรใช้ฟิวส์ขนาดพอเหมาะกับวงจรไฟฟ้า

ยาทุกตัว ย่อมมีทั้งคุณและโทษควบคู่อยู่ด้วยเสมอ ในการใช้ยาจึงต้องใช้อย่างรู้เท่าทันว่ายาแต่ละตัวออกฤทธิ์อย่างไร, ใช้ขนาดเท่าไหร่, นานเท่าไหร่ และอาจมีโทษอะไรได้บ้าง ถ้าหากไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ไม่ควรใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ

อันตรายของยาอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1. การใช้ยาเกินขนาด (Overdosage toxicity) เช่น
   - กินแอสไพริน  ขนาดมาก ๆ ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis) ถึงตายได้
   - กินพาราเซตามอลขนาดมาก ๆ อาจทำลายตับ เกิดภาวะตับวายเฉียบพลันถึงตายได้
   - กินฟีโนบาร์บิทาล  ขนาดมาก ๆ ทำให้กดศูนย์ควบคุมการหายใจ ผู้ป่วยหยุดหายใจถึงตายได้
   - กินยารักษาเบาหวานมากเกิน อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปจนเป็นลม ถึงตายได้
2. ผลข้างเคียงของยา (Side effect) ยาทุกตัวจะมีผลที่ไม่เป็นคุณหรือเป็นโทษ อยู่ควบคู่กับประโยชน์ของมัน
เสมอ เช่น
   - ทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะ (กัดกระเพาะ) เป็นโรคกระเพาะ/แผลเพ็ปติกได้ เช่น ยาแอสไพริน ,    
     ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ , สเตอรอยด์ , รีเซอร์พีน 
   - ทำให้หูหนวก เสียการทรงตัว หรือเป็นพิษต่อไต เช่น สเตรปโตไมชิน, คานาไมซิน (Kanamycin) ทำให้เกิด
     ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (Agranulocytosis) เช่นไดไพโรน, ซัลฟา, เฟนิลบิวตาโซน, ยารักษาคอพอกเป็นพิษ
   - ทำให้เป็นโรคโลหิตจางอะพลาสติก เช่น คลอแรมเฟนิคอล , เฟนิลบิวตาโซน 
   - ทำให้มีพิษต่อตับ เช่น เตตราไซคลีน , อีริโทรไมซิน , คีโตโคนาโซล , ไอเอ็นเอช , ไพราซินาไมด์ เป็นต้น
   - ทำให้มีพิษต่อประสาทตา เช่น อีแทมบูทอล , คลอโรควีน  เป็นต้น
   - ทำให้ฟันเหลืองดำ เช่น เตตราไซคลีน ข้อที่ควรระวังอย่างยิ่งคือ ผลที่มีต่อเด็กเล็ก และทารกในครรภ์มารดา
3. การแพ้ยา (Drug allergy หรือ Drug hypersensitivity) 
    ดูรายละเอียดในหัวข้อ "การแพ้ยา"
4. การดื้อยา (Drug resistance) มักจะเกิดกับยาปฏิชีวนะที่ใช้กันอย่างผิด ๆ  ยาปฏิชีวนะ"
5. การใช้ยาในทางที่ผิดและการติดยา (Drug abuse และ Drug dependence) เช่น
   - การติดยามอร์ฟีน, เฮโรอีน, ยากระตุ้นประสาท-แอมฟีตามีน (ยาม้า, ยาขยัน) 
   - การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นยาลดไข้
   - การใช้สเตอรอยด์เป็นยาลดไข้ หรือยาอ้วน
   - การใช้เอฟีดรีน  หรือแอมฟีตามีน เป็นยาขยัน
   - การใช้ผงน้ำตาลเกลือแร่ (ORS) เป็นบำรุงร่างกาย